อุปนายกสภามหาวิทยาลัย
มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแก่ 14
นักวิจัยผู้สร้างชื่อเสียงระดับโลก คว้า 5
รางวัลจากเวที IPITEx
2025
วันพุธที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแก่คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในงาน “2025 Bangkok International Intellectual Property, Innovation and Technology Exposition” (IPITEx 2025) ซึ่งจัดขึ้นภายใต้กิจกรรม “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
ดร.เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้เกียรติมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแก่คณะนักวิจัย จำนวน 14 ท่าน จากผลงาน 4 เรื่อง ที่คว้ารางวัลรวมทั้งสิ้น 5 รางวัล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการและความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่:
Rice leaf disease
detection application
รางวัล: Gold Medal
และ NRCT Special
Award
โดย: อาจารย์อทิตยา บัวศรี และนายขจรวิทย์ ศรีสุนทร
จาก: วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Farm School
EdMedia: Holistic Educational Media for
Learning English and Sustainable
Living
รางวัล: Gold
Medal
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิพร พงศ์เพลินพิศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีราภรณ์ พลายเล็ก,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา ประสารทรัพย์ และอาจารย์ภาณุพงศ์ จันทน์ผลิน
จาก: คณะครุศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
Babboo-KALA CLAY:
Odor Absorber from Waste
Bamboo
รางวัล: Gold
Medal
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตรลดา ชูมี, อาจารย์ ดร.พลอยทราย โอฮาม่า,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ คำพันธ์, และนักวิจัยร่วมอีก 5 ท่าน
จาก: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Low-Salt Instant
Rice Porridge with Plant-based
Protein
รางวัล: Silver
Medal
โดย: อาจารย์ ดร.พลอยทราย โอฮาม่า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ คำพันธ์,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตรลดา ชูมี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ แสนศิริพันธ์ และนักวิจัยร่วมอีก 5 ท่าน
จาก: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความสำเร็จของนักวิจัยทั้ง 14
ท่านในครั้งนี้
ไม่เพียงแต่เป็นการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในระดับสากล
แต่ยังเป็นการขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น
“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
(Innovation-driven Economy)
อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ผลงานวิจัยที่ส่งเข้าประกวดในเวทีดังกล่าว ยังสอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะ เป้าหมายที่ 12: การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns) ผ่านการออกแบบนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในสังคม และเป็นต้นแบบของงานวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
วราภรณ์ ศรีบัวแก้ว : ข้อมูล
ทัตพงศ์ เรืองปราชญ์ : ภาพ
ภาณุพงศ์ ภุมรินทร์ : รายงาน
______________________________________________
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โทร. 0 2160 1344-6
Line ID : @ird.ssru