หน้าหลัก > ข่าว > ข่าวฝ่ายบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะ > “สวนสุนันทา” นำผลงานวิศวกรสังคมร่วมประกวดและจัดแสดง ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 (Thailand Research Expo 2024)
“สวนสุนันทา” นำผลงานวิศวกรสังคมร่วมประกวดและจัดแสดง ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 (Thailand Research Expo 2024)

ผู้ดูแลเว็บ สถาบันวิจัยและพัฒนา
2024-09-03 16:20:14


“สวนสุนันทา” นำผลงานวิศวกรสังคมร่วมประกวดและจัดแสดง ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 (Thailand Research Expo 2024)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับเชิญจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำผลงานวิจัยภายใต้ทุนวิจัยวิศวกรสังคม เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 (Thailand Research Expo 2024) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยการจัดงานครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดย อาจารย์อทิตยา บัวศรี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ พร้อมด้วยนางสาววราภรณ์ ศรีบัวแก้ว นางสาวปัญชลิกา ตะเคียนราม นำผลงานวิจัยจาก “โครงการผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันจากน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอ” ภายใต้ทุนวิจัยวิศวกรสังคม การบ่มเพาะวิศวกรสังคมเพื่อสร้างโมเดลต้นแบบพัฒนาเชิงพื้นที่และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ของนักศึกษาจากวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประกอบด้วย นายภาณุพงศ์ แก้วทิพย์รัตน์ นางสาวจุฑาทิพย์ ฤทธิบูรณ์ นางสาวธนันยา โยธาคง นางสาวชลดา สมนึก และนางสาวกุลศิริ สรรพอาษา  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุพร อุ่นประเสริฐสุข เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการ

โดยการดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน และBCG Model ในการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

วรฤทัย หาญโชติพันธุ์ : รายงาน

ภาณุพงศ์ ภุมรินทร์ : ภาพ

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯ : ข้อมูล

#SSRU#IRDSSRU#SDGs_SSRU

#สถาบันวิจัยและพัฒนา

#มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

______________________________________________

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

โทร. 0 2160 1341-5, 080-083-1341

Line ID : @ird.ssru

www.ird.ssru.ac.th